วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

จดหมายเปิดผนึกถึงโครงการ e-CLIP-EIS

จดหมายเปิดผนึกถึงโครงการ e-CLIP-EIS

         ตามแนวคิดเพื่อพัฒนาครูด้วยระบบ e-CLIP สอนด้วยภาษาอังกฤษบูรณาการเข้ากับสาระตนเองโดยเริ่มต้น 3 สาระก่อนคือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์นั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ครูกล้าใช้ภาษาอังกฤษ พัฒนาครูโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์


e-CLIP  ประกอบด้วย

  • content (เนื้อหา) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์สาระ (ไม่แน่ใจ ว่าเด็กจะเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นหรือไม่ เพราะสอนด้วยภาษาไทย ภาษาแม่ของเราเองเด็กไทยยังไม่เข้าใจ)
  • ตัวภาษาอังกฤษ การออกเสียง คีย์เวิร์ด (ครูที่สอนยังไม่ชำนาญภาษาอังกฤษ และอาจนำภาษาอังกฤษไปใช้ไม่ถูกต้อง)
  • การออกแบบการสอนที่เหมาะกับสาระ (รูปแบบการสอนที่ดีคือ ครูต้องเข้าใจเนื้อหาและภาษาอังกฤษจนชำนาญ จึงจะสามารถจัดรูปแบบการเรียนรู้นั้นได้ดี)
  • อิเล็กทรอนิกส์ content (นำขึ้นสู่ Social Media)
  • Lesson study การสอนของครูเกิดการพัฒนาได้ เมื่อคุณครูจะสอนเรื่องใด ต้องมีผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบ  สอนอย่างไร แลกเปลี่ยนการสอน ปรับปรุงแก้ไขจากผู้เชี่ยวชาญ (ประเทศไทยจริงจังกับเรื่องนี้หรือไม่ เห็นทุก  สพม. บังคับให้ครูสอนด้วยภาษาอังกฤษ (ตรวจสอบอย่างไรว่าถูกต้อง) แล้วผู้เชียวชาญ เชี่ยวชาญจริงหรือไม่ ตรวจสอบ ช่วยกันปรับปรุงแก้ไขจริงหรือไม่ ) (เชื่อว่า ถ้าพี้เลี้ยงดี สำเร็จแน่นอน)



อยากพัฒนาครูให้มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
เสียงจากครูน้อยๆ คนหนึ่งที่ไม่เก่งภาษาอังกฤษ และอยากจะเก่งภาษาอังกฤษมากๆ จึงขอเสนอท่านผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ e-CLIP ว่าสิ่งที่ผมอยากได้

  1. เชิญครูภาษาอังกฤษที่เก่งของประเทศมาประชุมหารือเพื่อจัดทำหลักสูตร ทำอย่างไรให้ครูไทยเก่งภาษาอังกฤษ
  2. ให้ครูภาษาอังกฤษ ทำ CLIP ที่จัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สื่อต่างๆ ขึ้นบน Social Media เช่น Youtube
  3. ทำเป็นระดับ Level ตั้งแต่ขั้นเบื้องต้น ขั้นสูง
  4. ทำ CLIP โดยครูสอนภาษาอังกฤษ สอนภาษาอังกฤษให้ครูไทยเก่งภาษาอังกฤษก่อนไม่ดีกว่าหรือที่ให้ครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มาทำ  CLIP สอนเนื้อหาวิชาตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ เพราะวิชาเหล่านี้ เนื้อหาซึ่งเป็นเรื่องยาก สอนภาษาไทยเด็กยังไม่เข้าใจ สอนภาษาอังกฤษยิ่งยากกว่า
  5. ส่วนภาษาอังกฤษผมมองถึง การใช้ในชีวิตประจำวัน การสื่อสารในการดำรงชีวิต น่าจะสำคัญกว่าหรือไม่
  6. ผมคนหนึ่ง ถ้าสพฐ. ทำโครงการ CLIP สอนภาษาอังกฤษที่เข้าใจ และน่าสนใจที่จะเรียนรู้ ผมจะเข้าไปศึกษาเพื่อพัฒนาตนเอง ทำเลยครับ เว็บไซต์ 1 เว็บไซต์ที่บรรจุไปด้วยความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ขั้นเบื้องต้นถึงขั้นสูง
  7. เมื่อครูพร้อมด้านภาษาอังกฤษ วันนั้นครับ ผมเชื่อว่า ครูไทยเราจะเก่งภาษาอังกฤษทั้งประเทศ และเขาจะทำ CLIP สอนวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษแน่นอน

เสนอต่อว่า เช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้เด็กไทยเก่งทั้งเนื้อหาและเก่งทั้งภาษาอังกฤษ ผมเสนอให้ สพฐ. จัดทำโครงการ e-CLIP เพื่อให้เด็กไทย  เก่งภาษาอังกฤษด้วยภาษาอังกฤษ” โดยทำ CILP สอนภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับเบื้องตัน ระดับสูง เพื่อให้เด็กสามารถนำภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันและการเรียนในระดับที่สูงขึ้น (ทักษะที่จะติดตัวเด็กไป คือทักษะการแสวงหาความรู้ สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และนำความรู้นั้นไปใช้ได้ในชีวิตจริง)

ครูพงษ์ศักดิ์ มั่นหมาย ครูสอนคอมพิวเตอร์คนหนึ่งที่อยากเก่งภาษาอังกฤษ อยากเห็น CLIP สอนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับเบื้องต้น-จนถึงระดับสูง และวันหนึ่งถ้าผมเก่งภาษาอังกฤษ ผมจะทำ CLIP การสอนแบบภาษาอังกฤษอย่างแน่นอน

แต่สิ่งที่ดีใจ คือ ประเทศเราเริ่มมองเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ ประกาศให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการเถอะครับ

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

การแก้ font ภาษาไทยขนาดเล็ก ในโปรแกรม Scratch ให้ใหญ่ขึ้น

การแก้ font ภาษาไทยขนาดเล็ก ในโปรแกรม Scratch ให้ใหญ่ขึ้น
มีวิธีการดังนี้

 >>>>>>>>>>>>>>.       

มีวิธีการดังนี้
1. ดาวน์โหลดไฟล์ oho.po ที่เว็บไซต์ http://gg.gg/sc_thai จะปรากฏดังภาพ

วิธีการดาวน์โหลดไฟล์ oho.po
      1.1  คลิกที่ไฟล์  จะปรากฏภาพ  อยู่กลางหน้าจอแล้วทำการคลิกที่ปุ่ม  จะได้ไฟล์ดังภาพ
      1.2 คลิกขวาไฟล์ oho.po ด้วย คลิกที่แท็บ แสดงในโฟลเดอร์

จะปรากฏที่อยู่ของไฟล์ดังภาพ




2. คัดลอกไฟล์ oho.po ไปไว้ที่โฟลเดอร์ C:\Program Files\Scratch\locale หรือ C:\Program Files (x86)\Scratch\locale ขึ้นอยู่กับเครื่องนั้นๆ


3. ทำการเปลี่ยนภาษาที่โปรแกรม scratch โดยวิธีการดังนี้

   3.1 คลิกที่ปุ่ม  ในแท็บ จะปรากฏ  ดังภาพ
    3.2 คลิกที่แท็บ OHO


เพียงเท่านี้ ปัญหา Font ขนาดเล็กของภาษาไทยจะหายไปทันที 


ขอขอบคุณ คุณ พนมยงค์ แก้วประชุม
                     สาขาคอมพิวเตอร์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี







วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

วิธีการเพิ่มตัวละครใหม่ ในโปรแกรม Scratch


สคริปต์สำหรับเพิ่มผู้ใช้จำนวนมากๆ ใน Google Apps for Education

ขั้นตอนการเพิ่มผู้ใช้จำนวนมากๆ ใน Google Apps for education

มีวิธีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1
     เข้าเว็บไซต์ http://admin.google.com จะปรากฏรูปดังนี้ โดยให้ใส่ ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน (ต้องอยู่ในฐานะผู้ดูแลระบบเท่านั้น)


คลิกที่ปุ่ม ลงชื่อผู้ใช้ จะปรากฏดังรูป

ขั้นตอนที่ 2 สร้างองค์กรย่อย (OU) คลิกที่


คลิกที่ เพิ่มองค์กรย่อย สมมติเพิ่มองค์กรย่อยชื่อว่า  member ดังรูปด้านล่าง

คลิกที่สร้างชื่อองค์กร เป็นอันเสร็จขั้นตอนที่ 2 (สังเกตดูครับจะมีชื่อองค์กรย่อย member แสดงทางด้านเมนูซ้ายมือของหน้าจอ)



ขั้นตอนที่ 3 การสร้างข้อมูลผู้ใช้ ใน Google ชีต คลิกที่นี้ https://docs.google.com/spreadsheets/u/0/
และคลิกที่
 เพื่อสร้าง Google ชีตดังรูปแบบด้านล่าง


โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • email : อาจใช้หมายเลขประจำตัวนักเรียนเช่น 8245@ตามด้วยชื่อเว็บไซต์โรงเรียน
  • name : ชื่อ (ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้)
  • lastname : นามสกุล
  • OU : ชื่อองค์กรย่อยที่สร้างในขั้นตอนที่2 ใส่เครื่องหมาย / 
  • password : รหัสผ่านโดยต้องตั้งให้มีรูปแบบคือมีความยาวไม่น้อยกว่า 8 ตัวอักษรและต้องมี       ตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวอักษรตัวเล็ก อักขระพิเศษ และตัวเลข เช่น Np_12345678 (ต้องรูปแบบนี้เท่านั้น)
ขั้นตอนที่ 4 การสร้างจาวาสคริปต์เพิ่มผู้ใช้ทีละหลายคน

จะปรากฏ Google Apps Script ให้คลิกที่   โครงการว่างเปล่า

ขั้นตอนที่ 5 ทำการคัดลอก  สคริปต์ ด้านล่างไปใส่ดังภาพ
function acction() {
  var sheet = SpreadsheetApp.getActiveSheet();
  var firstRow = 2;
  var lastRow = 6; //จำนวนสมาชิกแถวสุดท้าย
  for (i=firstRow;i<=lastRow; i++) {
    if (sheet.getRange(i,6).getValue() == ''){
      var email     = sheet.getRange(i, 1).getValue();
      var firstname = sheet.getRange(i, 2).getValue();
      var lastname  = sheet.getRange(i, 3).getValue();
      var ou        = sheet.getRange(i, 4).getValue();
      var password  = sheet.getRange(i, 5).getValue();
      var user = {
        primaryEmail: email,
        name:{
          givenName: firstname,
          familyName: lastname
        },
        password: password,
        orgUnitPath : ou
      };
      user = AdminDirectory.Users.insert(user);
      var timestamp = new Date();
      sheet.getRange(i, 6).setValue(timestamp);
    }
  }
}
 ให้ปรากฏดังภาพ

หมายเหตุ บรรทัดที่ 4 ตัวเลขที่ใส่ใน var lastRow คือ จำนวน  Google ชีต แถวสุดท้ายของสมาชิก
หลังจากนั้น คลิกที่ปุ่ม  ทำการบันทึกโครงการใหม่ จะปรากฏดังรูปด้านล่าง

คลิกที่ปุ่ม ต่อไป และ คลิก รับสิทธิ์ จะปราฏข้อผิดพลาดในรูปแบบต่างๆ ดังรูปด้านล่าง

ขั้นตอนที่ 6 แก้ข้อผิดพลาดดังนี้ กด ปุ่ม ปิด และมีขั้นตอนดังนี้

คลิกที่แถบเมนู ทรัพยากร  และเลือกที่เมนู บริการขั้นสูงของ Google... ดังรูปด้านล่าง


จะปรากฏรูปด้านล่าง

คลิกที่ ปุ่ม Admin Directory API ให้แสดงดังรูปด้านบน  หลังจากนั้นคลิก ที่คำว่า  คอนโซลนักพัฒนาซอฟต์แวร์ Google จะปรากฏรูปด้านล่าง


 คลิกที่ Admin SDK ปรากฏดังรูปด้านล่าง  แล้วคลิกที่ปุ่ม Enable API (เพื่อเปิด) ให้เปลียนดังรูปด้านล่าง


หลังจากนั้น ปิดแท็บ API Library ที่แท็บ Browser คลิกปุ่มตกลงดังรูปด้านล่าง


หลังจากนั้น คลิกที่ปุ่ม  อีกครั้งหนึ่ง

กลับที่ที่คอนโซลผู้ดูแลระบบว่าสมาชิกที่เพิ่มเข้าไปถูกต้องหรือไม่



*แค่นี้เด็กนักเรียนทั้งโรงเรียนก็จะเข้าไปอยู่ในระบบ
*การตั้ง OU แล้วแต่บริบทของแต่ละโรงเรียนเลยนะ
เทคนิคอย่าลืมใส่รหัสผ่านตามที่ระบุนะครับ งั้นลบสมาชิกที่ละคน เหนื่อยแย่เลย

ครูพงษ์ศักดิ์ มั่นหมาย โรงเรียนหนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
E-mail : krued@nongphai.ac.th